วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555
งานนำเสนอ1
ไฟล์วิดีโอนี้ ประกอบการเรียน ในชั่วโมงเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
จัดทำโดย เด็กหญิงสินีนาถ สุริยะศรี เลขที่ 36
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7
วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555
แม่ของฉัน…
แม่คือผู้อุ้มท้องกว่าเก้าเดือน
แม่คือผู้ตักเตือนเมื่อลูกผิด
แม่คือผู้ชี้แนวทางแห่งชีวิต
แม่คือผู้สอนพินิจในจิตใจ
แม่คือผู้ให้กำเนิดเกิดเยาว์วัย
แม่คือผู้นั้นไซร้เลี้ยงลูกมา
ถึงบัดนี้ลูกเข้าใจชีวาแล้ว
คงไม่แคล้วมีแม่คอยห่วงหา
ลูกคนนี้จะทำดีและสัญญา
ดังคำว่าลูกได้ดีเพราะ “แม่”เอย
ไม่มีแม่ไม่มีเรา
คำนี้มันตราตรึงอยู่ในใจของใครอีกหลายๆคนรวมถึงฉันด้วย
ไม่ว่าแม่เราจะเป็นอย่างไรเราควรที่จะเชิดชูท่าน
เลี้ยงดูท่านเหมือนที่ท่านเลี้ยงดูเรามา
ฉันรู้ว่าการเลี้ยงลูกให้เติบใหญ่มันยากมาก แต่เลี้ยงให้เป็นคนดีมันยากยิ่งกว่า
ฉันอาจจะไม่ได้เป็นคนดีสักเท่าไหร่แต่ฉันก็เชื่อในคำสอนที่แม่ของฉันนั้นเลี้ยงดูอบรมฉันมา
ถ้าวันใดที่ฉันได้ดีฉันกล้าที่จะพูดได้เต็มปากเต็มคำว่าแม่ฉันสอน
มันคือความภูมิใจของฉันและความรักของลูกแต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไปแต่สิ่งที่ต้องการเหมือนกันนั่นคือรอยยิ้มจากผู้เป็นแม่
ไม่ว่าเราจะทำดี ทำไม่ดีสักเพียงไหนแม่คนนี้ก็คอยอยู่เป็นกำลังใจให้เราเป็นคนแรกเสมอ
ไม่ว่าคนอื่นจะดูถูกเรามากแค่ไหน แต่แม่คนนี้ก็คอยปลอบใจในทุกๆอย่าง
แม่เป็นทั้งผู้ให้กำเนิดและเป็นทั้งผู้ที่เลี้ยงดูเราให้เราเติบโตมาในสังคมที่ดี
และประพฤติดีอยู่เสมอ แม่ของฉันนั้นเป็นคนที่จิตใจดี
ซึ่งตัวฉันเองน้อยครั้งที่อาจทำได้อย่างแม่
แม่เป็นผู้หญิงที่เข้มแข็งเหนือกว่าใครทั้งสิ้น ฉันรักแม่ที่แม่เป็นแม่
แม่คนนี้คนที่เข้าใจฉัน คนที่คอยห่วงใยใส่ใจเมื่อฉันอยู่ห่างไกล
จึงทำให้ฉันคิดเสมอว่าฉันไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก แต่ในบางครั้งฉันเองก็เคยทำในสิ่งที่ท่านต้องเสียใจ
ซึ่งฉันรู้ตัวเองว่าฉันเสียใจมากกว่าที่กระทำเช่นนั้นไป แต่แม่ก็ให้อภัยเสมอมา
ฉันอยากจะพูดสักล้านครั้งว่าฉันรักแม่ รักแม่ รักแม่ รักแม่ลูกคนนี้จะทำหน้าที่ลูกให้ดีและจะทำไปจนกว่าเราสองคนจะจากกันไป...
รักแม่ที่สุดค่ะ
วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ความสำตัญของวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาค่ะ
ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา อังกฤษ: Asalha Puja) เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย คำว่า อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนมิถุนายนหรือเดือนกรกฎาคม แต่ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 8 หลังแทนวันอาสาฬหบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถีหรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะณป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรกเป็นปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์การแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้พราหมณ์โกณฑัญญะ1ใน5ปัญจวัคคีย์เกิดความเลื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้า จนได้ดวงตาเห็นธรรมหรือบรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน ท่านจึงขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา พระอัญญาโกณฑัญญะจึงกลายเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก และด้วยเหตุที่ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล (อนุพุทธะ) เป็นคนแรก จึงทำให้ในวันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า"วันพระธรรม"หรือวันพระธรรมจักรอันได้แก่วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก
ตักบาตรในวันอาสาฬหบูชาในช่วงเช้า
"วันพระสงฆ์" คือวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก อีกด้วยเดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีการบูชาในเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาในประเทศพุทธเถรวาทมาก่อน จนมาในปี พ.ศ. 2501 การบูชาในเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาจึงได้เริ่มมีขึ้นในประเทศไทยตามที่คณะสังฆมนตรีได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อพ.ศ.2501โดยคณะสังฆมนตรีได้มีมติให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาในประเทศไทย ตามคำแนะนำของ พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบอนุจารี) โดยคณะสังฆมนตรีได้ออกเป็นประกาศสำนักสังฆนายกเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาพร้อมทั้งกำหนดพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในประเทศไทยโดยมีพิธีปฏิบัติเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชาอันเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากลอย่างไรก็ตาม วันอาสาฬหบูชาถือเป็นวันสำคัญที่กำหนดให้กับวันหยุดของรัฐเพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้นส่วนในต่างประเทศที่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทอื่นๆยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับวันอาสาฬหบูชาเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชาวันอาสาฬหบูชา หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรกจึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก และด้วยการที่พระพุทธเจ้าทรงสามารถ แสดง เปิดเผย ทำให้แจ้ง แก่ชาวโลก ซึ่งพระธรรมที่ทรงตรัสรู้ได้จึงถือได้ว่าพระองค์ได้ทรงกลายเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ คือทรงสำเร็จภารกิจแห่งการเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น "สัมมาสัมพุทธะ" คือทรงเป็นพระพุทธเจ้าผู้สามารถแสดงสิ่งที่ทรงตรัสรู้ให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ซึ่งแตกต่างจาก"พระปัจเจกพุทธเจ้า" ที่แม้จะตรัสรู้เองได้โดยชอบ แต่ทว่าไม่สามารถสอนหรือเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ตามได้ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระธรรม" วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่ท่านโกณฑัญญะได้ บรรลุธรรมสำเร็จพระโสดาบันเป็นพระอริยะบุคคลคนแรก และได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสมบทเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระศาสนาและด้วยการที่ท่านเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในโลกดังกล่าว พระรัตนตรัยจึงครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระสงฆ์"
นั่งรอผู้อื่นตักบาตรให้เสร็จในท่ากิริยาที่เหมาะสม
ดังนั้น วันอาสาฬหบูชาจึงถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัพระพุทธศาสนาดังกล่าวซึ่งควรพิจารณาเหตุผลโดยสรุปจากประกาศสำนักสังฆนายกเรื่องกำหนดพิธีอาสาฬหบูชาที่ได้สรุปเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในวันอาสาฬหบูชา
ความเป็นมาของการเข้าพรรษา
ในเรื่องความเป็นมาของการเข้าพรรษา ถ้าว่ากันตามประวัติย่อๆ คือ ในยุคต้นพุทธกาล ก็ยังไม่มีการเข้าพรรษา เพราะฉะนั้นตลอดทั้งปี เมื่อพระภิกษุมีความเห็นว่าท่านควรจะไปเทศน์ ไปสอนญาติโยมที่ไหนได้ ท่านพอมีเวลา ท่านก็จะไป หรือไม่ได้ไปเทศน์ไปสอนใคร ถ้าเห็นว่าที่ไหนมันเงียบ มันสงัดดี เหมาะในการที่จะไปบำเพ็ญภาวนา ทำสมาธิ(Meditation)ของท่าน ท่านก็จะไป ซึ่งแน่นอน ส่วนมากก็จะอยู่ในเขตที่เป็นป่าเป็นเขา ไกลๆออกไปจากตัวเมือง หรือว่าต้องผ่านไปในชนบทนั่นเอง จากการที่ท่านต้องไปอย่างนี้ เนื่องจากในฤดูฝนที่เขาทำไร่ทำนากันอยู่นั้น บางครั้ง ข้าวกล้าของเขาก็เพิ่งหว่านลงไปในนา มันเพิ่งงอกออกมาใหม่ๆ บางทีก็ดูเหมือนหญ้า พระภิกษุก็เดินผ่านไป นึกว่ามันเป็นดงหญ้า ก็เลยย่ำข้าวกล้าของเขาไป ซึ่งก็ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน เขาก็มาฟ้องพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าพระไปย่ำข้าวของเขาที่ปลูกเอาไว้ หว่านเอาไว้ นกกาฤดูฝนมันยังอยู่กับรังของมัน พระทำไมไม่รู้จักพักบ้าง
วันเข้าพรรษาคือตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 8 จนถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 11
เพื่อตัดปัญหานี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เลยทรงกำหนดให้พระภิกษุ เมื่อเข้าพรรษา หรือเมื่อเข้าฤดูฝน ให้พระอยู่กับที่ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 8 จนกระทั่งขึ้น 15ค่ำเดือน11 ให้อยู่เป็นที่เป็นทาง ไม่ไปทำภาวนาที่ไหนไม่ไปเทศน์โปรดใครถ้าใครต้องการให้โปรดก็มาที่วัดก็แล้วกันมาหาท่าน ไม่ใช่ท่านไปหาเขากำหนดเป็นอย่างนี้ไป เพื่อตัดปัญหาไม่ให้ใครมาบ่นลูกของพระองค์ได้แต่อีกมุมมองหนึ่ง พระองค์ทรงถือโอกาสที่เกิดเป็นปัญหานี้ ได้ทรงเปลี่ยนคำครหาให้กลายเป็นโอกาสดีของพระภิกษุว่า ถ้าอย่างนั้นพระภิกษุอยู่เป็นที่ในวัดวาอาราม เพื่อที่จะให้พระใหม่ได้รับการอบรมจากพระเก่าได้เต็มที่ เพราะว่าจริงๆแล้ว ในการอบรมถ่ายทอดศีลธรรมถ่ายทอดธรรมวินัยให้แก่กันและกันนั้นถ้าทำอย่างต่อเนื่องทำเป็นที่เป็นทางต่อเนื่องกันทุกวันทุกวันอย่างนี้จะเป็นการดีการศึกษาธรรมะอย่างต่อเนื่องมีผลดีเพราะฉะนั้นพระองค์ก็เลยทรงกำหนดขึ้นมาว่าให้พระภิกษุอยู่กับที่ในช่วงเข้าพรรษาอยู่ในวัดแล้วพระใหม่ก็ศึกษาหรือรับการถ่ายทอดธรรมะจากพระเก่า ส่วนพระเก่าก็ทำหน้าที่เป็นครูบาอาจาร์ยด้วย คือ สอนพระใหม่เท่านั้นยังไม่พอ พระเก่าก็วางแผน กำหนดแผนการเลยว่าเมื่อออกพรรษาแล้ว ควรจะเดินทางไปโปรดที่ไหน นั่นก็อย่างหนึ่ง อีกทั้งปรับปรุงหลักสูตรวิธีการเทศน์การสอน การอบรมให้เหมาะกับท้องถิ่น ให้เหมาะกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป เป็นต้น
ช่วงเข้าพรรษาพระใหม่ก็ศึกษาธรรมะจากพระเก่าพระเก่าก็ทำหน้าที่เป็นครูบาอาจารย์สอนพระใหม่
ในช่วงเข้าพรรษานี้พระภิกษาสงฆ์จะได้มีโอกาสหาความรู้จากพระไตรปิฎกให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ยิ่งกว่านั้น ถ้าเราไปตามวัดต่างๆ ในขณะนี้ ในฤดูเข้าพรรษานี้ เนื่องจากเราก็นิยมบวชกัน จะบวชชั่วคราวแค่พรรษาก็ตาม หรือจะบวชระยะยาวก็ตาม ในเมื่อพอเข้าพรรษาแล้ว พระเก่าพระใหม่ต้องอยู่ที่เดียวกัน พระเก่าทำหน้าที่เป็นครูบาอาจารย์ ใครถนัดวิชาไหนก็มาสอนวิชานั้นให้แก่พระภิกษุใหม่ ใครถนัดพระวินัยก็สอนพระวินัย ใครถนัดสอนนักธรรมหรือธรรมะก็สอนธรรมะ ใครถนัดสอนพุทธประวัติก็สอนพุทธประวัติ เป็นต้นพูดง่ายๆ ฤดูเข้าพรรษาจึงกลายเป็นฤดูติวเข้ม หรือถ้าจะพูดกันอย่างในปัจจุบันก็บอกว่า ฤดูเข้าพรรษานี่แท้จริงก็เป็น Moral Camping ของพระภิกษุนั่นเอง กิจวัตรอื่นใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกไปโปรดญาติโยมก็พักเอาไว้ก่อน จึงเหลือแต่เรื่องของการศึกษาเป็นหลัก ค้นคว้าพระไตรปิฎกเป็นหลัก เนื่องจากมีเวลาที่จะค้นคว้า
ประวัติวันเข้าพรรษา
หลักธรรมในพระพุทธศาสนา มีแม่บทไว้ชัดอยู่ 3 ข้อ คือ
การปฏิบัติตัวของชาวพุทธในช่วงเข้าพรรษา ในช่วงเข้าพรรษา พระเก่าพระใหม่ ท่านอยู่กันพร้อมหน้า เมื่ออยู่พร้อมหน้ากันอย่างนี้ ก็เป็นโชคดีของญาติโยม โชคดีอย่างไร โชคดีที่เนื้อนาบุญอยู่กันพร้อมหน้า ญาติโยมตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตาทวด ท่านไม่ปล่อยให้พระเข้าพรรษาเพียงลำพัง ญาติโยมก็พลอยเข้าพรรษาไปด้วยเหมือนกัน แต่ว่าเข้าพรรษาของญาติโยมนั้น เข้าพรรษาด้วยการอธิษฐานจิต
ความสำคัญและประโยชน์ของการเข้าพรรษา
ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อนเป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึง วันออกพรรษาเพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไปเพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา
ช่วงเข้าพรรษาพระใหม่ก็ตั้งใจศึกษาหาความรู้ให้เพิ่มพูนยิ่งๆ ขึ้นไป
วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
โปรแกรมคำนวณค่าพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
4.2.ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมหาพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า และแสดงผลการหาค่าทางกล่องตอบโต้
<html>
<head>
<script language="javascript">
<!--
var a;
var b;
a = prompt("ความกว้าง");
b = prompt("ความยาว");
alert("พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า="+a*b);
</script>
</head>
</html>
วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)